KYC คืออะไร
คำถามทั่วไป
กฎหมายฟอกเงิน KYC/CDD หรือ Know Your Customer/Customer Due Diligence เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฏหมายดังกล่าวจะเริ่มบังคับให้สถาบันการเงินต้องปรับตัว เพราะสถาบันการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม
สาเหตุที่มีกฎหมายฟอกเงินฉบับเพิ่มเติมขึ้นมา เนื่องมาจากกระบวนการก่อการร้ายระดับสากล หรืออาชญากรรมภายในประเทศได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมถึงช่องทางการขโมยข้อมูลที่พัฒนามากขึ้นด้วยการอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้การขโมยเลขบัตรเครดิตหรือประกันสังคม เกิดขึ้นได้ง่าย
กฎหมายดังกล่าวบังคับให้สถาบันการเงินต้องตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่เปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช่นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น
สถาบันการเงินที่ต้องทำ KYC/CDD ภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มี 3 หน่วยงานหลัก คือ สถาบันการเงิน บริษัทที่ปรึกษาทางด้านการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และบริษัทให้บริการ อีเพย์เมนท์ (e-payment) การให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
คำว่า KYC หมายถึง กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคล ส่วน CDD หมายถึง พฤติกรรมการโอนเงิน ฝาก ถอน มีความผิดปกติหรือไม่